17 เแก้อาการไหล่ติดด้านหน้า
-
อาการสำคัญ: ขณะยกเหยียดข้อไหล่ข้างขวาขึ้นสูงถูกจำกัด ไขว้แขนไปด้านหลังถูกจำกัด อาการ เรื้อรังมานาน คนไข้ระบุว่ามาจากการใช้มือเขียนหนังสือทุกวัน ใช้เวลานานๆ
อาการแสดงพบว่า ยกแขนขึ้นสูงไม่สามารถแนบศรีษะได้ ขณะกางไหล่รู้สึกมีอาการ ปวดร้าว ไปยังบริเวณด้านหน้าไหล่และทางด้านหน้าของต้นแขน บริเวณกล้ามเนื้อ Pectoralis ตึงแข็ง ขณะนอนตะแคงขวารู้สึกปวดหัวไหล่
เทคนิคครูสมพิศ ปิตะสิงห์ "ขณะคนไข้อยู่ในท่านอนหงาย หัวไหล่งุ้มไปด้านหน้าทั้งสองข้างอย่าง เห็นได้ชัด ครูเริ่มยืดเหยียดกล้ามเนื้อหัวไหล่ตามแบบนวดนักกีฬาของ อ.สมรรถชัย เขาแก้ว ผู้เชี่ยวชาญด้านกายภาพบำบัด โดยใช้มือข้างหนึ่งกดบนหัวไหล่ ส่วนมืออีกข้างกดบนหัวตะคาด จากนั้นครูยืดตัวออกพร้อมกันทั้งสองข้าง ผลคือหัวไหล่คลายลงแนวราบ วิธีการ สำหรับ ผู้เรียนหลักสูตร 200 ชั่วโมงของโรงเรียนแพทย์แผนโบราณวัดโพธิ์ ให้นวดแขนด้านนอกและด้านใน แนวเส้น สัน ปัต รัต ก่อนใช้เทคนิคแก้อาการไหล่ติดด้านหน้า 1. ครูสมพิศ เริ่มจากดึงบ่าบน Supraspinatus และใต้รักแร้ มาจนถึงข้างลำตัว Latissimus dorsi (ดูภาพได้จากโพสท์ แก้อาการเจ็บ สะบัก บ่า ไหล่
2. ครูกดบนแนวกล้ามเนื้อ anterior deltoid ดันขึ้นไปที่หัวไหล่
3. ครูใช้ศอกกดลงย้ำที่กล้ามเนื้อ Pectoralis ซึ่งคนไข้มีอาการแข็งและตึงมาก ครูใช้ศอกกดไล่ มาที่ต้นแขน Biceps Brachii พบจุดเจ็บบนต้นแขน Biceps แข็งตึงขึ้นเป็นลำ เมื่อพบจุดเจ็บแล้ว ครูสมพิศหลีกเลี่ยงการนวดบนจุดเจ็บ
4. ครูนวดแขนด้านในและด้านนอกใต้กล้ามเนื้อ Biceps ด้วยเทคนิคดัมเบล (สังเกตุบนรูป) ทั้ง 2 ด้าน คนไข้รู้สึกปวดมากในตอนแรกที่กดจากนั้นค่อยๆ ปวดน้อยลง
5. ครูย้ายมากดที่ Latissimus dorsi อีกครั้ง และเคลื่อนมากด coracobrachialis
6. ครูให้คนไข้ลุกในท่านั่ง ทดลองขยับแขนหุบแขน กางไหล่ ยกแขนขึ้น พบว่าไม่มีอาการปวด ยกแขนได้แนบศรีษะ และเสียงที่เกิดบริเวณหัวไหล่จากการตึงของเอ็นกล้ามเนื้อขณะเคลื่อนไหวแขน ไม่มีแล้ว
7. จากนั้นคนไข้มาอยู่ในท่านอนหงายครูนวดฝ่ามือให้
8. ให้คนไข้นอนในท่าคว่ำ ครูใช้ศอกกดลงบนร่องขอบสะบักข้างขวาไล่ลงไปถึงสะบักล่าง เพื่อผ่อนคลาย ซึ่งคนไข้นั้นไม่มีอาการปวดสะบัก
9. ให้คนไข้อยู่ในท่านั่ง ครูนวดผ่อนคลายกล้ามเนื้อ คอ บ่า ไหล่ จากนั้นกดแนวไหล่จบด้วยท่าไชโย หลังจากจบการนวด อาการปวดจากไหล่ติดด้านหน้า หายเป็นปลิดทิ้ง ซึ่งคนไข้บอกเพียงสั้นๆ ว่า "เหมือนเกิดใหม่"
คำแนะนำของครูสมพิศ : ส่วนใหญ่ 90% ลักษณะอาการแบบนี้มาจากการ นอนทับแขน ..ในเทคนิคสำหรับผู้เรียนหลักสูตร 200 ชั่วโมงของโรงเรียนแพทย์แผนโบราณวัดโพธิ์ เรียนรู้ในท่านั่ง นิ้วกดที่บริเวณ Pectoralis นั้น ครูสมพิศบอกว่า เราจะใช้เทคนิคหรือไม่ใช้ก็ได้ในท่านี้ เพราะคนไข้ไม่มีอาการเจ็บสะบัก แต่ถ้าจะใช้ ให้คนไข้เอียงคอไปฝั่งตรงข้ามที่กด เพื่อเปิดพื้นที่ให้เห็นแนวกล้ามเนื้อที่กดง่ายขึ้น จากนั้นใช้มืออีกข้างโน้มคอลงมา ในขณะที่แขนผู้นวดต้องตรง