16 เแก้อาการปวดชากล้ามเนื้อน่องไปถึงนิ้วเท้า (ภาพประกอบ)
-
อาการสำคัญ: ปวดกล้ามเนื้อสะโพกซ้ายข้างกระเบนเหน็บ ก้นย้อย ปวดร้าวลงขา มีอาการชา ที่กล้ามเนื้อน่องลงไปถึงนิ้วนางเท้าซ้าย นอกจากนี้ปวดข้อพับเข่าด้านในทั้ง 2 ข้าง อาการปวดขานี้ เรื้อรังมากว่า 2 ปี
อาการแสดงพบว่า เบื้องต้นทดสอบกล้ามเนื้อขาในท่านอนหงายชันเข่าพับซ้ายขวาสลับกัน พบกล้ามเนื้อสะโพกข้างซ้ายตึง
เทคนิคครูสมพิศ ปิตะสิงห์ "ใช้ท่านอนหงายนวดแนวเส้นสัน ปัต รัต เพื่อตรวจหาสาเหตุการเจ็บ" และทันทีที่ครูกดแนวเส้นรัต บริเวณขาท่อนล่าง พบว่าคนไข้เจ็บที่ข้อเท้ามาก หลังจากสอบถาม อีกครั้งพบว่า เมื่อ 2 ปีกว่า ข้อเท้าพลิกบวมข้างซ้ายและด้วยระยะเวลานานก็ทำให้อาการของโรคหาย ไปเอง อาการข้อเท้าพลิกมาก่อนการปวดขา
วิธีการ สำหรับผู้เรียนหลักสูตร 200 ชั่วโมงของโรงเรียนแพทย์แผนโบราณวัดโพธิ์ ใช้เทคนิคการนวด แก้ข้อเท้าด้วยอุปกรณ์ในท่านอนหงาย
1. ครูสมพิศ เริ่มนวดแนวข้อเท้าด้านนอก พบว่าแนวเส้นข้างตาตุ่มด้านนอกตึงจนแข็ง จากนั้นนวด ฝ่าเท้า 3 แนว ด้วยอุปกรณ์ ครูแก้อาการตามแนวข้อเท้าจนคนไข้เจ็บแปล๊บไปถึงหลังเท้า
2. ครูนวดขาข้างซ้ายบนล่างแนวเส้นสัน ปัต รัต และใช้เทคนิคงอเข่าพับขางัดเส้นรัตตะฆาต (งัด 5 ที ศัพท์สำหรับเฉพาะกลุ่ม200 ช.ม.) ยังคงอยู่ในท่านอนหงายพับขาเลข 4 นวดแนวขาด้านในสัน ปัต รัต ครูจับเหยียดขาตรงจากนั้นใช้ศอกกดดิ่งบริเวณหัวตะคาดโคนขาพับ เมื่อใช้นิ้วกดจะพบจุดเกาะของ เอ็นตึงแข็งในร่องนี้ ขณะกดดิ่งลง ลมแล่นวิ่งไปถึงเข่าด้านในที่ปวด ครูไล่ร่องปลีกล้ามเนื้อ ซึ่งจุดเจ็บ นี้เป็นสาเหตุที่ทำให้เข่าตึง คนไข้มีอาการเจ็บโคนขาแนวปัตตะฆาตร่องกล้ามเนื้อด้านใน ซึ่งเส้นใน เส้นนี้เจ็บมาก ถ้าหมอนวดหาเส้นไม่เจอ คนไข้ก็จะเจ็บต่อไป จากนั้นผ่อนคลายด้วยท่าแมวเหมียว ครูสรุปให้ว่าคนไข้มี 2 อาการ เกิดขึ้น คือ เจ็บเข่ามาจากกล้ามเนื้อด้านใน เพราะการเดิน และเจ็บ สะโพกมาจากข้อเท้าพลิก
3. จากนั้นครูกดท้องด้านหน้าแนวเส้นสัน ปัต รัต ดิ่งลงไปทางกระเบนเหน็บ เพื่อทดสอบอาการ ปวดชากระเบนเหน็บถึงก้นย้อย และชาไปถึงกล้ามเนื้อน่อง ครูให้คนไข้นอนคว่ำ ขึ้นท่าย่ำเข่า คนไข้รู้สึกขาเบาขึ้น ทดสอบด้วยการนั่งย่อเข่า 2 ข้างได้ ซึ่งก่อนหน้านี้ทำได้ยากมาก
4. ครูจับคนไข้นอนในท่าตะแคงกึ่งหงาย โดยครูนั่งชันเข่าขึ้นข้างหนึ่งให้ขาคนไข้พาดไว้บนเข่าครู ใช้ศอกกดลงบนร่องโคนขาด้านนอกแนวรัตตะฆาต มืออีกข้างจับเข่าคนไข้โยก ขณะกดเส้นนี้ พบว่ามีอาการเจ็บ ลมแล่นวิ่งไปที่เข่า
5. ท่านอนคว่ำ ใช้ท่าย่ำเข่า จากนั้นครูใช้เข่ากดบริเวณเอ็นร้อยหวาย เพื่อคลายความตึง ไล่ขึ้นมาถึงน่อง อาการข้อเท้าเบาลงขณะถูกกดในท่านี้ และอาการชา กระเบนเหน็บ ก้นย้อย ชาลงขาคลายลง คงเหลือแต่ชานิ้วนางเท้าซ้าย ซึ่งต้องดูอีกครั้งหลังจากอาการระบมผ่านไป 2 - 3 วัน .......................................
:: อาการปวดบริเวณขาท่อนล่าง,ข้อเท้า::
กล้ามเนื้อกลุ่ม Peroneus ประกอบด้วย Peroneus Longus, Peroneus Brevis, Peroneus Tertius โดยที่ Peroneus Longus และ Brevis ทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้เท้าเอียงในขณะเหยียบพื้น การบีบรัด common peroneal nerve โดยกล้ามเนื้อ Peroneus longus สามารถเกิดขึ้นได้ที่บริเวณหัวกระดูก Fibula ดังนั้นจึงทำให้อาการชาไปตามด้านนอกของหน้าแข้งและข้อเท้ารวมทั้งหลังเท้าด้วย ส่วนอาการเจ็บกระเบนเหน็บ ก้นย้อย แนะนำให้ดูเพิ่มเติมที่ ::แก้อาการเจ็บหลังส่วนล่างแนวกระดูกสันหลังร้าวไปถึงก้นกบ::
กล้ามเนื้อ Iliopsoas มัดนี้ทำหน้าที่งอสะโพก ทั้ง Iliopsoas และ psoas กล้ามเนื้อมัดนี้มีบทบาทช่วย ในขณะลุกขึ้นนั่ง โดยเฉพาะระยะ 60° ท้ายของการลุกขึ้นนั่งจากที่นอน กล้ามเนื้อมัดนี้ทำหน้าที่หลาย อย่าง ในกล้ามเนื้อ psoas ทำให้มีอาการปวดร้าวไปตามกระดูกสันหลังข้างเดียวกัน ตั้งแต่ระดับทรวง อกไปจนถึงก้นกบ บางครั้งไปที่บริเวณก้นด้วย ส่วน Iliopsoas มักปวดร้าว ไปที่บริเวณขาหนีบ และ ทางด้านหน้าของต้นขา สาเหตุการกระตุ้น ให้บาดเจ็บมักเกิดจากการยกของ หนัก หรือการนั่งในท่า งอสะโพกอยู่นาน และอาการปวดจะบรรเทาได้โดยก้มตัว ยิ่งเมื่องอสะโพก จะทำให้อาการเจ็บปวดลด ลงมาก แต่หากปล่อยทิ้งไว้นานอาจส่งผลต่อบุคคลิกภาพกลายเป็นคนหลังงอได้