11 แก้อาการคอแข็งสาเหตุตกจากที่สูง
-
อาการสำคัญ: คอตึงข้างซ้าย ถูกจำกัด มีอาการวูบๆ ที่ศรีษะขณะเดิน ลุกนั่งเร็ว คล้ายเลือดขึ้นไป เลี้ยงที่ศรีษะไม่ทัน สาเหตุของโรค เกิดขึ้นจากนอนเล่นบนเปลด้วยท่านอนหงาย และเปลขาดด้าน ศรีษะ ตกมาความสูง 1 เมตร ศรีษะไม่กระแทกพื้น แต่บริเวณคอ บ่า ไหล่ กระทบพื้น มีอาการเจ็บชา ไปทั้งศรีษะ จากนั้นประคบน้ำแข็งนำส่งโรงพยาบาล เมื่อ x-ray ผลคือไม่มีอาการกระดูกแตกร้าว กล้ามเนื้อระบมเล็กน้อย ยกแขน ก้ม หงาย หันคอได้ เฝ้าสังเกตุอาการ 48 ชั่วโมง ขณะนอนใช้หมอน รองคอนอนตลอดทั้งคืน พบว่าอาการดีขึ้น แต่ยังมีอาการตึงที่คอ ส่วนอาการวูบไปที่ศรีษะยังคงมี เช่นเดิม ทดสอบด้วยการตำน้ำพริกในครก มีอาการปวดจี๊ดขึ้นที่กลางศรีษะ หลังจากเกิดเหตุ 7 วัน พบครูสมพิศ เบื้องต้น ทดสอบในท่านอนหงาย เมื่อครูกดเส้นแนวกระดูกคอ บริเวณร่องกล้ามเนื้อ ใต้กระดูกคอC7 คนไข้มีอาการไอทันที สาเหตุเพราะคอตึง
อาการแสดงพบว่า: กลุ่มกล้ามเนื้อ Scalene นี้มี 3 มัด ที่ช่วยตรึงกระดูกคอไว้ไม่ให้เคลื่อนที่ไปด้าน ข้างและยังทำหน้าที่ยกกระดูกซี่โครง กล้ามเนื้อกลุ่มนี้เป็นมัดเล็ก อาจคลำได้ยาก และอยู่ใกล้ หลอดเลือด
เทคนิคครูสมพิศ ปิตะสิงห์ “ใช้ท่านอนหงายนวดแขนด้านในและด้านนอก ตามแนวเส้น สัน ปัต รัต ตามวิธีการสำหรับผู้เรียนหลักสูตร 200 ชั่วโมงของโรงเรียนแพทย์แผนโบราณวัดโพธิ์
1. ครูสมพิศ เริ่มนวดแนวแขนด้านใน ด้านนอก พบว่าแขนตึงมาก นวดให้กล้ามเนื้อคลาย
2. ในท่านอนหงาย ครูนวดคอแนวเส้นชิดกระดูกคอ และแนวกล้ามเนื้อคอ ข้างซ้ายที่มีอาการตึง กดจุดร่องกล้ามเนื้ออยู่ต่ำและอยู่ข้างกระดูก C7 ดันนิ้วเบาๆ แล้วนิ่ง เข้าหากระดูก C7 หลายๆครั้ง จนกล้ามเนื้อผ่อนคลาย จากนั้นให้คนไข้ทดสอบเอียงคอซ้ายขวา พบว่า คอเบา หมุนสบายไมติดขัด จากนั้นครูนวดคอข้างขวาในท่านอนหงาย
3. ในท่านอนคว่ำ ครูให้หันคอไปด้านใดด้านหนึ่ง ให้คนไข้ยกแขนขึ้นบนทั้งสองข้าง จากนั้นครูนวดหลังบนกล้ามเนื้อทั้งสองแนวทั้งซ้ายและขวา เหตุเพราะ ถ้าหลังตึงจะดึงกล้ามเนื้อคอให้ตึงด้วย โดยครูแบ่งหลังเป็นสองส่วน คือ ส่วนบนกดแนวกล้ามเนื้อดันขึ้นไปทางคอและส่วนล่างกดแนวกล้ามเนื้อดันไปทางเอว
4. ขณะครูนวดกล้ามเนื้อส่วนบน เน้นที่สะบัก พบว่า กล้ามเนื้อใต้สะบักข้างขวามีกล้ามเนื้อนูนแข็ง ครูใช้ศอกกดลงตามแนวใต้สะบัก เป็นที่น่าสังเกตุว่า คนไข้มีอาการปวดคอข้างซ้าย แต่มีกล้ามเนื้อหลังใต้สะบักที่ข้างขวา บวมนูน และตึงมาก
5. จากนั้นใช้ท่านอนหงาย ยืดกล้ามเนื้อหัวไหล่ทั้งสองข้าง เพื่อเป็นการปรับสมดุล
6. ท่านั่ง นวดคอ บ่า ไหล่ แบบผ่อนคลาย เป็นการแก้อาการมึนหัว เพื่อให้เลือดหมุนเวียนให้ทั่ว
คำแนะนำของครูสมพิศ : ขณะนอนคว่ำ เพื่อนวดคอ บ่า ไหล่ ควรให้คนไข้นอนเอียงคอหันไปด้านใด ด้านหนึ่ง ไม่ควรให้คอตั้งบนหมอน เพราะกระดูกคอจะทับเส้นประสาท C7 อาจเกิดอาการ หน้ามืดได้ ถึงแม้ว่าท่านอนคว่ำเพื่อนวดคอโดยเอียงคอด้านใดด้านหนึ่งแล้ว ผู้นวดต้องนวดแล้วปล่อย อย่านวด กดทิ้งไว้นาน ซึ่งอาจเป็นอันตรายได้ เช่นเดียวกับ กรณีที่เป็นข่าวตำรวจกดเข่าทับคอผู้ต้อง สงสัย ตายในต่างประเทศ ซึ่งผู้เสียหายนอนเอียงคอในท่าคว่ำ แต่เข่าของตำรวจกดไว้บริเวณกระดูกคอ C7 นานถึง 8 นาที