Food and Money : Mindfulness Family
-
ที่มา
สร้างรัง กลุ่มจิตอาสาของเสถียรธรรมสถาน ที่มาเป็นฝ่ายครูกระบวนกร เป็นนักปฏิบัติ ขนานแท้ที่มีความเป็น 'เซียน' มากกว่าเป็น 'ผู้เชี่ยวชาญ' แม้มีกันอยู่ไม่กี่คน แต่มีความสำคัญ อย่างมาก เพราะช่วยกันจับมือสร้างรูปแบบความสัมพันธ์ที่เสมอภาค งดงาม และสนับสนุนซึ่งกัน และกัน อีกทั้งเชื่อมต่อและคอยหาเทคนิคการเดินทางเรียนรู้แบบใหม่ๆ ที่ใช้ได้ทั้งความรู้ด้าน ศาสนธรรมและชีวิตทางโลก ฝ่ายนักเรียนเป็นคน Gen Y ที่คัดเลือกมาจากองค์กรต้นแบบ อาจจะจับพลัดจับพลู มาเข้าในกลุ่มสร้างรัง ได้โอกาสเรียนรู้เดินทางไปพร้อมกันเช่นเดียวกับครู โดยมีเป้าหมายทำ 'ตลาดนัดแห่งความสุข' บนออนไลน์
แล้ว "สร้างรัง" คืออะไร ?
บางท่านอาจตอบว่า 'เป็นโครงการที่ใช้องค์ความรู้ของเสถียรธรรมสถาน ในการพัฒนา องค์กร' ตัวครูกระบวนกรก็อาจตอบว่า 'เป็นงานสร้างชุดการเรียนรู้’ ตัวผู้เรียนเองก็อาจตอบว่า 'เป็นการเรียนที่สนุก ทําให้ได้เห็นเป้าหมายของตนในอนาคต' บางคนเห็นว่า 'การร่วมกลุ่มเป็นงาน ชนิดหนึ่ง' บางคนเห็นว่า 'เป็นประสบการณ์ที่เปลี่ยนชีวิต' และนี่คือเสน่ห์ของสร้างรัง
เป้าหมายและผลคาดหวัง
ครอบครัวเป็นสายใยพื้นฐานของมนษุย์ แต่หลายครอบครัวถูกสร้าง โดยลืมวิถีชีวิต ที่ตั้งอยู่ของตน กินอยู่ไม่เหมาะสม รวมถึงไม่รู้จัก "ออมเงินออมงาน" การเริ่มต้นจากหลักการ 'สุขง่ายใช้น้อย' เป็นแนวคิดที่ใช้ในการปฏิบัติ มาพร้อมกับเทคนิคของ 'ครูกระบวนกร' 6 คน เพื่อให้ผู้เรียนนำไปปรับเปลี่ยน กินอยู่อย่างเหมาะสม และออมเงินออมงานกัน
ออกแบบ ‘สร้างรัง’
เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2563 ในช่วงวิกฤตโควิด-19 ที่เริ่มระบาดในประเทศไทย ครูกระบวนกรคนแรก 'ดร.ณัฐวุฒิ กุลนิเทศ'เข้าพบท่านแม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต เพื่อบันทึกเทปรายการ Spiritual Journey ในหัวข้อ "นักลงทุนในปัจจุบันธรรม สุขง่ายรับ New Normal" ผ่าน Facebook Page 'ห่วงใย Thai Business' และจากวันนั้นครอบครัวของ 'ดร.ณัฐวุฒิ กุลนิเทศ หรือ พ่อเอ' ได้มาเป็นจิตอาสาร่วมกันสนับสนุนงานเสถียรธรรมสถาน งานDance For Peace งานธรรมสวัสดี E-Magazine งานสร้างรังผ่านหัวข้อ 'food & money' โดยชี้ทางและให้ความรู้ตามถนัดของตนเอง
แตกหน่ออีก 6 ครูต้นแบบ
ใช้ความรู้และความถนัดของครูต้นแบบ รวบรวมถอดเป็นบทเรียนที่ได้จากการปฏิบัติ จริงในแนวคิด "พออยู่ พอกิน พอเพียง พอใจ "หรือ "LIVING SIMPLY LIVING LUXURY" จากนั้นจัดทำเป็นหลักสูตรสร้างรัง ในโครงการขับเคลื่อนครอบครัวอบอุ่นด้วยสติในองค์กร ของเสถียรธรรมสถาน สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
บทเรียนหลักสูตรสร้างรัง มีเนื้อหาอาทิเช่น เรื่อง สู้อย่างไร...ให้เรายังเดินไปได้ด้วยกัน และเรื่อง How to Agility ยุคโควิด ของ ดร.ณัฐวุฒิ กุลนิเทศ เรื่อง From Kitchen to Market ของ คุณวิลาวัลย์ วัฒนกุล กับ คุณอุบลรัตน์ ช่อธีระพฤกษ์ (มาดามตวง) เรื่อง Food Tips work from home ของ คุณอุบลรัตน์ ช่อธีระพฤกษ์ (มาดามตวง) เรื่อง จัดกระเป๋าสตางค์ เพื่อความมั่งคั่ง อย่างยั่งยืน ของ คุณมาติณณ์ ทรัพย์พูศิริวงศ์ เรื่องช้อปหลักร้อย ความสุขหลักล้าน ของ คุณรัชดา ศรีเลณวัติ เรื่อง The Essence of Life (สุนทรียภาพของการใช้ชีวิต) ของ คุณธนิสรา แก้วอินทร์ และ พญ.กอบกาญจน์ ชุณหสวัสดิกุล พร้อมกับ นพ.ทีปทัศน์ ชุณหสวัสดิกุล
การแลกเปลี่ยนพูดคุยกันระหว่างครูต้นแบบกับผู้เรียนของกลุ่มสร้างรัง โดยใช้หลักสูตร การเรียนการสอนแบบออนไลน์ เปิดเสรีสำหรับทุกคนบนโลก (MOOCs : Massive Open Online Course) ทําให้ได้ชุดการเรียนรู้ไปใช้ต่อยอดได้ ซึ่งเหมาะกับพื้นที่บางองค์กรที่อาจได้เห็นช่องทาง สื่อสารใหม่ๆ ซึ่งเห็นผู้เรียนมีความกระตือรือล้น ความสนุกสนาน ความคิดสร้างสรรค์ มองเห็น ความสุข และนําไปใช้ประโยชน์ปรับเปลี่ยนมุมมองเพิ่มคุณภาพชีวิตของครอบครัวในองค์กรด้วยกัน จนเกิดการสร้าง Influencer ในองค์กรผ่าน MODEL สติใน LIFESTYLE คือ HEALTHY FOOD, MONEY STRATEGY และ LONG COVID CARE
บนเส้นทางสร้างรัง
คำถาม : การนำธรรมะเข้าไปในหัวใจของคนวัยทำงาน จะทำอย่างไรดี
คําตอบ : ในตอนต้นของการเริ่มโครงการ ทีมเราแทบไม่มั่นใจว่าจะทําได้ไหม ด้วยข้อธรรมตามทฤษฎี ก็ยังไม่แม่น แต่เรามีประสบการณ์ในการเผชิญวิกฤตและปัญหาชีวิตมาไม่น้อย และทุกครั้งธรรมะ คือ ทางรอดของพวกเรา โดยเฉพาะธรรมที่ถูกย่อยให้ง่ายมากขึ้นจากท่านแม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต ด้วย แล้ว การซึมซับ เพื่อให้มาปรับใช้ในชีวิตประจําวัน จึงเป็นหนทางที่ชวนกันมาลองให้เห็นผลได้จริง
รายการนักเดินทางทางด้านจิดวิญญาณ Spiritual Journey
ร่วมสนทนาธรรมกับท่านแม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต จากเสถียรธรรมสถานSpiritual Journey “เพื่อนมีค่า เมื่อปัญหาเกิด”
รวมสนทนาธรรมกับ แม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต จากเสถียรธรรมสถาน