ตาราฟาร์ม : โมเดลพึ่งตนเองได้
-
การไม่ย่อท้อกับขีดจำกัดของการเป็นเขตเงาฝน ของหุบเขาโพธิสัตว์ เสถียรธรรมสถาน อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี ท่านแม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต พร้อมทีมลูกศิษย์หัวใจโพธิสัตว์ ได้ร่วมกันพลิกฟื้นผืนแผ่นดินที่แห้งแล้ง ให้กลับเป็นดินที่อุดมสมบูรณ์ ทั้งการใช้เทคโนโลยีที่สามารถ ทำปุ๋ยที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะพื้นที่ การนำน้ำขึ้นไปอยู่บนยอดเขาเพื่อให้เกิดป่าเปียกจะได้คืนความ ชุ่มชื้นให้แก่ป่า การทำสายน้ำฉ่ำเย็นที่ไหลวนรอบอาณาเขตเพื่อดึงให้เกิดความชื้นแก่ดินและ หล่อเลี้ยงต้นไม้โดยรอบได้ตลอดทั้งปี
“เราจะไม่ยอมจำนนกับโชคชะตา แต่เราจะใช้ปัญญาทำของยากให้สำเร็จได้” คือคำกล่าว ของท่านแม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุตในทุกครั้งที่พวกเราต้องเผชิญกับอุปสรรค ความยากลำบาก ทั้งการ ปิดเมือง การที่คณะพุทธสาวิกาออกไปบิณฑบาตไม่ได้ การส่งต่ออาหารถึงชุมชนกลายเป็นเรื่อง ยากกว่าที่เคย
‘การปลูก’ เพื่อ ‘ให้’ คือ การลงมือทำในเหตุอย่างเต็มที่ และพร้อมที่จะมอบผลผลิตนั้นให้กับ ‘คนพิเศษ’ เป็น สิ่งที่ชาวตาราฟาร์มทำมาอย่างต่อเนื่อง เป็นการทำเหตุ เพื่อที่จะฝึกวางในผล ทำให้ หุบเขากลายเป็นแหล่งฝึกตนเอง ของใครหลายๆคน ถ้าใครมีโอกาสได้ไปเยี่ยมเยือน หุบเขาโพธิสัตว์ จะพบผลผลิตจากการลงทุนนี้มากมาย อาทิ ผักสดจากตาราฟาร์ม ผลิตภัณฑ์จากดอกกุหลาบ บัลแกเรีย ไข่ไก่จากแม่ไก่อารมณ์ดี ไก่ซิ้ลกี้ ครอบครัวกระต่าย รวมทั้งครอบครัวบุญ คือควายเผือก ที่เป็นสัญลักษณ์ประจำหุบเขาโพธิสัตว์แห่งนี้ด้วย
1 วันในตาราฟาร์ม เริ่มตั้งแต่หลังทำวัตรเช้า ที่ทุกคนจะได้รับประสบการณ์การเก็บดอก กุหลาบบัลแกเรีย เพื่อส่งต่อไปทำชาดอกกุหลาบ และ ผลิตภัณฑ์อื่นๆ จากนั้นทุกคนจะได้รับประทาน อาหารเช้าจากตาราฟาร์ม ก่อนที่จะเข้าไปเก็บไข่ไก่ หรือ ไปดูแลการปลูกผักในตาราฟาร์ม จนกระทั่ง ช่วงเที่ยง ก็ได้รับการแบ่งปันอาหารจาก คณะพุทธสาวิกาเพื่อให้ได้ ทดลอง ‘การบริโภค แบบ สุขง่ายใช้น้อย’ ก่อนที่ทุกคนจะได้กลับไปภาวนากับการทำงานที่ค้างอยู่ต่อ จนถึงเย็น ภาพที่ชินตา ของตาราฟาร์ม หุบเขาโพธิสัตว์แห่งนี้ ในช่วงเย็น คือการเห็นครอบครัวบุญ ควายเผือกทั้ง 5 ตัว เดินมาอาบน้ำ ก่อนกลับเข้าคอก เป็นสัญญาณเตือนให้วางมือจากงานก่อน เพื่อเตรียมตัวทำวัตรเย็น เป็นอันจบกระบวนการกับวิถีชีวิตของชาวหุบเขาโพธิสัตว์แห่งนี้