Thaiwho ในอดีต
-
www.thaiwho.org จดทะเบียนเมื่อปี ค.ศ. 2014 เพื่อสนับสนุนข่าวสารมรดกโลกทางธรรมชาติ ภายใต้กลไกการจัดตั้งสำนักงานมรดกโลกทางธรรมชาติของประเทศไทย โดยมี ดร.ทรงธรรม สุขสว่าง ผู้เชี่ยวชาญการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า / ผู้อำนวยการสถาบันนวัตกรรมอุทยานแห่งชาติและพื้นที่คุ้มครอง กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช (ตำแหน่งในขณะนั้น) ได้มอบหมายให้คุณพรทิพย์ ช้างแย้ม ผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อสารจากโครงการ CATSPA ของ UNDP เป็นผู้ขับเคลื่อนให้เกิดเว็บไซท์นี้ขึ้น คำว่า Thaiwho ย่อมาจาก Thai World Heritage office แต่ต่อมาการจัดตั้งสำนักงานดังกล่าวนี้ไม่เกิดขึ้น แต่ยังคงรักษาโดเมน www.thaiwho.org เพื่อทำประโยชน์ให้กับมรดกโลกต่อไป
เนื้อหาข่าวแรก “ปัญหาถนนหมายเลข 304” เมื่อวันเสาร์ที่ 5 กรกฎาคม 2557
สืบเนื่องมาจากอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ปางสีดา ทับลาน ตาพระยา และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดงรัก ได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกภายใต้ชื่อ “ป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่” ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก สมัยสามัญครั้งที่ 29 เมื่อปี พ.ศ. 2548 ที่เมืองเดอร์บัน ประเทศแอฟริกาใต้ โดยผ่านข้อกําหนดและหลักเกณฑ์ในการพิจารณาให้เป็นแหล่งมรดกโลก ทั้งนี้เป็นเพราะที่นี่เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของ ชนิดสัตว์และพันธุ์พืชที่หายาก และที่ตกอยู่ในสภาวะอันตราย แต่ยังคงสามารถดํารงชีวิตอยู่ได้ ซึ่งรวมถึงระบบนิเวศอันเป็นแหล่งรวมความอุดมสมบูรณ์ของพืชและสัตว์ที่ทั่วโลกให้ความสนใจ
แต่จากกรณีที่จะมีการก่อสร้างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 304 ซึ่งเป็นพื้นที่รอยต่อระหว่างอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่และอุทยานแห่งชาติทับลาน ในอําเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี และเป็นส่วนหนึ่งของผืนป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ ซึ่งได้รับการขึ้นบัญชีเป็นแหล่งมรดกโลกทางธรรมชาตินั้น จากการถูกพิจารณาใหม่อีกครั้งจากการประชุมของคณะกรรมการมรดกโลกครั้งที่ 38 ที่เกิดขึ้น ณ กรุงโดฮา ประเทศกาตาร์ เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน ที่ผ่านมา ถึงแม้ว่า “ป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่” จะรอดพ้นจากการถูกขึ้นบัญชีเป็น “พื้นที่มรดกโลกที่อยู่ในภาวะอันตราย” หรือ "ถูกถอดถอนจากการเป็นมรดกโลก" นั้น
ดร.ทรงธรรม สุขสว่าง ผู้เชี่ยวชาญการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า / ผู้อํานวยการสถาบันนวัตกรรมอุทยานแห่งชาติและพื้นที่คุ้มครอง กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ได้เคยให้ สัมภาษณ์ในรายการ “ฟันธง” ทางช่อง NBT ก่อนเดินทางไปร่วมประชุมของคณะกรรมการมรดกโลก ครั้งที่ 38 ถึงประเด็นนี้ว่า...
“เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 แล้วที่เราขึ้นทะเบียน กรณีเรื่องถนนหมายเลข 304 การทําถนนที่จะมีการขยายขึ้นไป เขาใหญ่ มีประเด็นตั้งแต่ครั้งแรกที่เราไปขึ้นทะเบียน ทางคณะกรรมการมรดกโลกก็ได้ให้ข้อเสนอแนะ ว่าเราควรจะทําทางสัตว์ข้ามบริเวณเขาใหญ่และทับลาน ทีนี้กระบวนการประเทศไทยก็เริ่มที่จะไปศึกษาผลกระทบ ไปออกแบบในรายละเอียดทั้งหลาย แต่ว่าประเทศไทยใช้เวลานานมาก จนกระทั่งถึง ปี 2554 ก็ยังไมเ่สร็จเรียบร้อยทางคณะกรรมการมรดกโลกเห็นว่าล่าช้าก็ได้ท้วงติงมาเพิ่มเติมและบอกว่าน่าจะเสร็จได้แล้ว...จนกระทั่งครั้งที่ 36-37 ที่เซนต์ปีเตอร์เบิร์ก ทีรัสเซีย ก็บอกว่าต้องทําให้เสร็จแล้วนะโดยมีเงื่อนไขว่า ถ้าปี 2557 คือครั้งที่ 38 ถ้าทําไม่เสร็จ ก็จะขออนุญาตอาจจะขึ้นมรดกโลกที่อยู่ในภาวะอันตราย อันนี้คือ มีประเด็นเรื่อง 304 การขยายถนนอย่างเดียว...ต่อมาก็ เรื่องของการบุกรุกพื้นที่อุทยานแห่งชาติทับลาน ที่วังน้ำเขียว มีเรื่องการเลี้ยงปศุสัตว์ในอุทยานแห่งชาติทับลาน บริเวณ อําเภอเสิงสาน ครบุรี เป็นของชาวบ้านที่อยู่รอบ ๆ บริเวณพื้นที่อุทยานแห่งชาติ ติดกับมรดกโลก ก็เข้ามาเลี้ยงสัตว์กันเป็นพันตัว แต่ตอนนี้ก็นําออกไปเยอะแล้ว แล้วก็มีเรื่องของเขื่อนห้วยโสมง แล้วก็เรื่องอื่น ๆ อย่างเช่นการที่มีนักท่องเที่ยวไปเที่ยวที่เขาใหญ่มาก เพราะหลังจากเป็นมรดกโลก เขาใหญ่มีนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นถึง 4 เท่า...”
“...อย่างกรณีเรื่องของถนน 304 เรามีแผนงานจะขยาย แต่ว่าในขณะที่เราจะขยาย เราจะสร้างอุโมงค์ ให้รถลอดได้และก็ให้สัตว์ข้ามด้านบน หรือว่าเราอาจจะสร้างเป็นสะพานลอยและให้สัตว์เดินด้านล่าง และรถวิ่งด้านบนอะไรอย่างนี้ อันนี้ก็เป็นแผนงานที่เรานําเสนอไปแล้ว ก็เลยมีความจําเป็นที่จะต้องใช้เวลาหน่อย และกระบวนการก็ต้อง ผ่านคณะกรรมการชํานาญการเรื่องสิ่งแวดล้อม ก็กว่าจะถึงกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติก็ต้องใช้เวลาหน่อย วันนี้ทุกอย่างได้ทําเสร็จเรียบร้อย เอกสารเรียบร้อย ก็เหลือแต่ว่าเข้าสู่คณะกรรมการแห่งชาติ เพื่อตรวจสอบ เราก็ได้รายงานคณะกรรมการมรดกโลกไปเหมือนกัน ตอนนี้เรายังไม่มีรัฐบาลก็เลยกลายเป็นว่ายังช้าไปนิด ก็ต้องรอ...”
อย่างไรก็ตาม การประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ 38 ณ กรุงโดฮา ประเทศกาตาร์ มี มติขึ้นทะเบียนป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ เป็นมรดกโลกที่ถูกคุกคาม และออกคําสั่งให้ทางการไทยส่งแผนการแก้ไขและรับมือกับภัยอันตรายที่คุกคามระบบนิเวศในบริเวณมรดกโลก ให้ศูนย์มรดกโลก กรุง ปารีส ประเทศฝรั่งเศส ภายในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2558 นี้
เนื้อหาข่าวสอง “US Women Park Ranger เธอคือมืออาชีพ” เมื่อวันอังคารที่ 21 ตุลาคม 2557
เสียงออกคําสั่งของ Carmen Barnard เจ้าหน้าที่พิทักษ์อุทยานแห่งชาติหญิง ของอุทยานแห่งชาติ Great Smoky Mountains ดังก้องไปทั่วป่า นักล่าหมีหยุดชะงัก วางอาวุธ และถูกควบคุมตัวด้วยกุญแจมือ นี่คือส่วนหนึ่งของฉากอาชญกรรมจําลองระหว่างการฝึกอบรมหลักสูตร Women in Law Enforcement ซึ่งมีเจ้าหน้าที่ป่าไม้ผู้หญิงจากกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ประเทศไทย จํานวน 5 คน และเจ้าหน้าที่ผู้หญิงจากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติของประเทศกัมพูชา จํานวน 5 คน เข้าร่วมกับการฝึกอบรมเป็นเวลา 10 วัน ระหว่างวันที่ 15 - 25 กันยายน 2557
ช่วงแรกฝึกภาคทฤษฎีที่ Federal Law Enforcement Training Center (FLETC) และช่วงที่สอง เป็นการฝึกภาคสนามที่อุทยานแหง่ ชาติ Great Smoky Mountain ทีมครูฝึกจาก US National Park Service โดยเฉพาะหัวหน้าชุด Jill A Hawk หัวหน้าศูนย์ฝึกอบรมการบังคับใช้กฎหมายกรมอุทยานแห่งชาติ ซึ่งเป็นผู้หญิงแกร่งที่สามารถฝ่าฟันด้วยความทุ่มเททํางานจนได้เป็นที่ยอมรับของทีมงาน เธอมีหน้าที่ดูแลการฝึกอบรมและการฝึกทบทวนเจ้าหน้าที่ด้านการบังคับใช้กฎหมายของกรมอุทยานแห่งชาติ ในสหรัฐอเมริกา จํานวน 401 แห่ง สําหรับเจ้าหน้าที่ข้าราชการประจํา จํานวน 1,210 คน จาก ประสบการณ์การทํางาน 25 ปี เธอเริ่มงานตั้งแต่ตําแหน่ง เจ้าหน้าที่สื่อความหมายอุทยานแห่งชาติ ซึ่งเป็นสัญญาจ้างชั่วคราว (Seasonal) ครั้งละ 6 เดือน โดยผ่านงานในอุทยานแห่งชาติ 4 แห่ง เป็นเวลา 2 ปี จากนั้นเธอได้บรรจุเป็นเจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมายประจําที่กรมอุทยานแห่งชาติ โดยได้ไต่เต้าเป็น เจ้าหน้าที่พิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ประจําตําบล ประจําอําเภอ หัวหน้าเจ้าหน้าที่พิทักษ์อุทยานแห่งชาติ หัวหน้าระดับภาค และหัวหน้าอุทยานแห่งชาติเป็นลําดับ
Jill A Hawk ได้กล่าวว่า การที่ผู้หญิงจะขึ้นเป็นผู้นําในองค์กรต้องทํางานหนักเป็น 3 เท่า ของผู้ชาย โดยนอกจากความรู้และความเป็นมืออาชีพในการทํางาน ซึ่งได้รับจากการฝึกอบรมอย่างหนัก ในหลักสูตรเจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมายของอุทยานแห่งชาติ ซึ่งฝึกอบรมจํานวน 660 ชั่วโมง ในภาคทฤษฎีประกอบด้วย วิชากฎหมาย การต่อสู้ป้องกันตัวด้วยอาวุธประเภทต่างๆ การจัดการความขัดแย้ง การตรวจพิสูจน์หลักฐาน การกู้ชีพในสถานการณ์ฉุกเฉิน แผนที่และการนําทาง การดับไฟป่า และอื่นๆ เช่น การขับรถในสถานการณ์วิกฤต นอกจากนี้ยังต้องฝึกภาคสนามอีก 400 ชั่วโมง ซึ่งเป็นการอบรมที่ ใช้หลักสูตรเดียวกัน ทั้งชาย – หญิง ผู้หญิงยังต้องพิสูจน์ถึงความเข้มแข็งและความทุ่มเทในงานให้เท่าเทียมกับผู้ชาย ซึ่งการฝึกอบรมและการทบทวนอย่างสม่ำเสมอจะช่วยพัฒนาทักษะให้ผู้หญิงมี ศักยภาพในการปฏิบัติงานได้ โดยไ่ม่จำเป็นต้องทําตัวเป็นผู้ชาย แต่เป็นผู้หญิงที่มีความเป็นมืออาชีพ ในการทํางานและสามารถเป็นผู้นําได้ในทุกระดับ เหมือนคํากล่าวของ นายบารัค โอบามา ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกาว่า “ความก้าวหน้าของผู้หญิง คืออนาคตของอเมริกา”
เนื้อหาข่าวสาม “ฤาวิธีย้อมสีรากโสมอเมริกา จะช่วยป้องกันไม้พะยูงบ้านเราได้” เมื่อวันอังคารที่ 2 พฤศจิกายน 2557
ในการเข้าร่วมฝึกอบรมหลักสูตร Women in Law Enforcement เมื่อ 15 - 25 กันยายน 2557 ที่ อุทยานแห่งชาติ Great Smoky Mountains ประเทศสหรัฐอเมริกา Jim Corbin ผู้เชี่ยวชาญด้านการป้องกันพันธุ์พืช จากกรมการเกษตร รัฐนอร์ทแคโรไลนาและทีมงาน ได้มานําเสนอวิธีการป้องปราม การลักลอบขุดโสมอเมริกัน (American ginseng : Panex quingue folius) ซึ่งเป็นโสมป่าพื้นเมือง ดั้งเดิมที่ถูกคุ้มครองในบัญชี 2 ของอนุสัญญา CITES ที่ถูกลักลอบขุดหาเนื่องจากเป็นที่นิยมว่ามีคุณภาพและสรรพคุณทางยาดีกว่าโสมปลูกตามความต้องการของตลาดเอเชียโดยเฉพาะประเทศจีน ราคาช่วงต้นฤดูร้อนรากโสมสด (ประมาณ 50-100 ราก/ปอนด์) ราคาอยู่ที่ประมาณ 280 $/ปอนด์ ส่วนรากแห้ง (ประมาณ 200-300 ราก/ปอนด์) อยู่ที่ 690 $/ปอนด์ ในขณะที่ช่วงเข้าสู่ฤดูใบไม้ร่วง ราคารากโสมแห้งเคยขึ้นไปถึง 1,200 $/ปอนด์
ถึงแม้ว่าจะมีกฎหมายควบคุมการลักลอบขุดและส่งออกโสมป่า แต่ด้วยราคาที่จูงใจทําให้การจับกุมทําได้เพียง 5% ของการกระทําผิดทั้งหมดและผู้ลักลอบขุดส่วนมากจะหลุดคดี เนื่องจากพิสูจน์ไม่ไ่ ด้ว่าเป็นโสมที่ขุดจากพื้นที่อุทยานหรือพื้นที่อนุรักษ์
Jim Corbin และทีมงานได้ศึกษาลักษณะทางกายภาพของดินและชีววิทยาของโสม เพื่อหาส่วนผสมของสารเคมีที่จะนํามาย้อมสีรากโสมประกอบด้วย สารเคมีที่มีคุณสมบัติของแม่เหล็ก สารฟอสฟอรัสซึ่งเปนสารเรืองแสง และสารที่ไม่พบในรัฐนอร์ทแคโรไลนา ส่วนวิธีการใช้ก็แสนง่ายนําสาร ที่ผสมกันเป็นผงไปโรยที่คอรากโสม หรือฉีดบริเวณคอรากเหนือพื้นดิน รากโสมจะดูดซึมสารเคมีเข้าไป เมื่อส่องด้วยไฟแบล็คไลท์ (Black light) จะเห็นเป็นสีเรืองแสงออกมาชัดเจน สามารถแยกได้ว่าเป็นโสมที่ถูกลักลอบขุดมาจากอุทยานแห่งชาติแน่นอน สามารถนําไปเป็นหลักฐานเอาความผิดผู้ลักลอบ ขุดหาและพ่อค้าคนกลางได้ ที่สําคัญคือวิธีการนี้มีต้นทุนที่ต่ำมาก ซึ่งเมื่อสอบถามว่าจะสามารถนําไปประยุกต์ใช้กับต้นไม้ชนิดอื่น เช่น พะยูง หรือกล้วยไม้ป่าได้หรือไม่ ผู้เชี่ยวชาญตอบว่า นําไปใช้ได้โดยต้องศึกษาส่วนประกอบของดินและชีววิทยาของพืชก่อนมาหาส่วนผสมของสารที่เหมาะสมสําหรับโสม อเมริกันนั้น ใช้เวลาประมาณ 1 ปี ในการวิเคราะห์จนได้ส่วนผสมที่เหมาะสมมาใช้ได้ สารที่ดูดซึม เข้าไปจะไม่เป็นอันตรายต่อพืชและสิ่งแวดล้อม และจะตรวจพิสูจน์ได้แม้ว่าไม้จะถูกตัดและแปรรูปเป็น เฟอร์นิเจอร์แล้ว ก็ยังส่อง ด้วยไฟแบล็คไลท์เจอได้
นำมาฝากเพื่อเป็นสารตั้งต้นให้กับนักวิชาการไทยที่อยากทํากันต่อ สนใจค้นหาได้ที่ www.ncarg/gov หรือเขียนไปคุยกับนักวิชาการท่านนี้ได้ที
This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. เพื่อต่อยอดมาช่วยกันรักษาพืชพรรณมีค่าหายากของป่าเราเนื้อหาข่าวสี่ “จิตอาสาพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ” เมื่อวันจันทร์ที่ 17 พฤศจิกายน 2557
“ฉันเป็นข้าราชการครูที่เกษียณอายุแล้ว เริ่มทํางานอาสาสมัครช่วยงานของอุทยานแห่งชาติ Great Smoky Mountains มาตั้งแต่อายุ 16 ปี จากความประทับใจที่ครอบครัวเรามาทํากิจกรรมท่องป่าและไต่เขาที่อุทยานแห่งชาตินี้ทุกปี ทําให้ฉันมีความรักและรู้สึกว่าฉันเป็นส่วนหนึ่งของสถานที่แห่งนี้ ฉันจึงอาสาเข้ามาร่วมงานตั้งแต่เก็บขยะ ทําความสะอาดห้องน้ำ ให้ข้อมูลนักท่องเที่ยว และเป็นไกด์นําทางไต่เขา สิ่งที่ฉันได้จากงานอาสาสมัคร คือ ความภูมิใจที่ได้ช่วยรักษาความสวยงามของสถานที่แห่งนี้ไว้ให้เป็นมรดกของลูกหลานต่อไป” นี่เป็นคําพูดของอาสาสมัครหญิงวัย 68 ปี ที่เราได้พบก่อนเดินขึ้นไป Clingmans Dome เพื่อชมทิวทัศน์ 360º ของอุทยานแห่งชาติและเทือกเขา Appalachians
อุทยานแห่งชาติ Great Smoky Mountains มีเนื้อที่ทังหมด 521,086 เอเคอร์ ตั้งอยู่ใ่นเขตรัฐเทนเนสซี จํานวน 276,344 เอเคอร์ และรัฐนอร์ทแคโรไลนา จํานวน 244,742 เอเคอร์ ซึ่งจํานวนนักท่องเที่ยวเข้าเยี่ยมเยือนเฉลี่ยถึงปีละ 9,000,000 คน ถือว่ามากที่สุดในอุทยานแห่งชาติจํานวน 401 แห่ง ของประเทศสหรัฐอเมริกา พื้นที่อุทยานแหง่ ชาติ มีเจ้าหน้าที่ข้าราชการประจํา จํานวน 240 คน เจ้าหน้าที่ชั่วคราวจํานวน 100 คน และมีอาสาสมัคร จํานวน 3,000 คน ที่ช่วยงานอุทยานแห่งชาติในแต่ละปี จนรัฐเทนเนสซีได้รับการขนานนามว่า รัฐแห่งอาสาสมัคร (State of Volunteer) งานของอาสาสมัครมีตั้งแต่รุ่นเยาว์ คือ อายุ 5-12 ปี สามารถเข้ารับการอบรมหลักสูตร Junior Park Ranger ซึ่งช่วยปลูกฝังจิตสํานึกอนุรักษ์อุทยานแห่งชาติให้แก่เด็กและเยาวชนชาวอเมริกัน โดยคํามั่นสัญญาของ Junior Park Ranger มีอยู่ว่า "ฉันสัญญาที่จะช่วยปกป้องพืชและสัตว์ของอุทยานแห่งชาติ Great Smoky Mountains และจะรักษาความสะอาดของอากาศ ดิน และน้ำ ฉันจะเรียนรู้เพิ่มเติมอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับอุทยานแห่งชาติ เพื่อที่ฉันจะสามารถช่วยปกป้องอุทยานแห่งชาติแห่งนี้ตลอด ไป"
สําหรับอาสาสมัครรุ่นใหญ่ สามารถสมัครเข้าร่วมโครงการ Volunteer in Parks (VIP) โดยในแต่ละปีอุทยานแห่ง ชาติจะจัดทําแผนความต้องการอาสาสมัครและกิจกรรมพิเศษในรอบปีที่ต้องการอาสาสมัครช่วยงานแจ้งประชาสัมพันธ์ที่เว็บไซต์ของอุทยานแห่งชาติ ในรายละเอียดจะระบุถึงคุณสมบัติของอาสาสมัครที่เหมาะสมสําหรับแต่ละกิจกรรม โดยจํานวนชั่วโมงหรือเวลาที่ต้องการอาสาสมัครช่วยงานและสถานที่ไว้อย่างชัดเจน ผู้สนใจทุกคนสามารถส่งใบสมัครออนไลน์เข้าร่วมโครงการได้อย่างสะดวก